เช็กตัวเองด่วน! อาการปวดกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกายเป็นอย่างไร?
การดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกาย หลายๆคนมักจะชอบออกกำลังกายเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ เช่น เพื่อสุขภาพที่ดี เพื่อลดน้ำหนัก เป็นต้น หลายๆคนก็มักจะออกกำลังกายอย่างหักโหม ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย ซึ่งเป็นอาการควบคู่ที่พบได้มากเช่นกัน อาการปวดเมื่อยจากการออกกำลังกายถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ก็นำไปสู่อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังได้ ทำให้การออกกำลังกายนั้นยากลำบากมากขึ้นจนถึงขั้นต้องงดออกกำลังกายไปเลยก็มี
ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับอาการปวดกล้ามเนื้อเนื่องจากการออกกำลังกายและมีวิธีการบรรเทาอาการที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง เพื่อทำให้การออกกำลังกายนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไปดูพร้อมๆกันเลย
ภญ.ภาณิกา เพชระบูรณิน ได้เขียนบทความไว้โดยให้นิยามของอาการปวดกล้ามเนื้อไว้ว่า การปวดกล้ามเนื้อ คือ ภาวะที่มีการปวด ตึง หรืออักเสบที่กล้ามเนื้อตามอวัยวะต่างๆ สามารถเกิดได้กับทุกเพศและทุกวัย และอาจเกิดเฉพาะจุดหรือเกิดทั่วร่างกาย อาการปวดอาจปวดเป็นครั้งเป็นคราวหรือปวดตลอดเวลา
อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทของอาการ ได้แก่
(1) อาการปวดเมื่อยตึง เมื่อยล้า อาการนี้ไม่จำเป็นต้องพบแพทย์เสมอไป อาการนี้ถือเป็นเรื่องปกติ และเป็นเรื่องที่ดีหลังจากออกกำลังกาย เป็นอาการปวดกล้ามเนื้อที่อาจเกิดขึ้นหลังจากออกกำลังกายไปประมาณ 1 วัน และจะปวดมากขึ้นในช่วง 2-3 วันหลังจากออกกำลังกาย หลังจากนั้นกล้ามเนื้อจะเกิดการฟื้นฟูจนอาการปวดค่อยๆลดลงจนหายไปเอง ซึ่งร่างกายของแต่ละคนอาจจะใช้เวลาไม่เท่ากันในการฟื้นฟูให้หายขาดจากอาการแต่โดยทั่วไปมักใช้เวลา 2-3 วันก็จะกลับมาหายเป็นปกติแล้ว ถึงแม้ว่าอาการปวดนี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีของความฟิต แต่หากเราออกกำลังกายซ้ำๆในจุดเดิมบ่อยๆอาจทำให้อาการปวดรุนแรงจนกล้ามเนื้อเกิดการอักเสบได้
(2) อาการปวดเฉพาะที่ อาการนี้มักมาจากการออกกำลังกายผิดท่าและหักโหมจนเกินไปส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บเฉพาะจุด กรณีที่อาการไม่รุนแรง ควรเลี่ยงการออกกำลังกายซ้ำบริเวณเดิมเพื่อเลี่ยงการบาดเจ็บซ้ำ ส่วนกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเอ็น ซึ่งจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อรับรักษาได้อย่างถูกวิธี หากปล่อยไว้ทำให้เกิดโรคเรื้อรังจนไม่สามารถหายเองได้ นอกจากนี้ การบรรเทาอาการนั้นมีหลากหลายวิธี เริ่มต้นง่ายๆด้วยการหยุดพัก พักผ่อน เพื่อรอให้ร่างกายได้ซ่อมแซมและฟื้นฟูและการทานอาหารที่มีประโยชน์ (โดยเฉพาะสารอาหารประเภทโปรตีน) นอกจากนี้ยังมีวิธีการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้ออยู่อีกหลากหลายวิธี โดยนพ. นิธิวุฒิ ปิ่นสิรานนท์ ได้แนะนำวิธีบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ดังนี้
· การฉีดยาชาเฉพาะที่
· การฝังเข็มรักษาอาการปวด
· การฉีดสเปรย์ยาชา (Ethyl Chloride) บริเวณที่มีอาการปวด และตามด้วยการยืดเนื้อกล้าม
· การนวดกดจุดบริเวณจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนช่วยในการเคลื่อนไหวเส้นใยกล้ามเนื้อ
· การใช้ความร้อน เช่น กระเป๋าน้ำอุ่น ประคบบริเวณจุดกดเจ็บ เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตคลายกล้ามเนื้อ
· การใช้ยาแก้ปวด ยาต้านการอับเสบที่มีใช้สเตียรอยด์ และยากลุ่มอื่น เช่น ยาลดการซึมเศร้า วิตามินซี วิตามินบี 1-6-12 กรดโฟลิค เป็นต้น
ในกรณีที่ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อไม่รุนแรง เราสามารถใช้ยาทาแก้ปวดกล้ามเนื้อเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยในเบื้องต้นได้ อ้างอิงจาก Pobpad ได้มีการแบ่งการออกฤทธิ์ของยาทาแก้ปวดออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
(1) บรรเทาอาการปวดบวม (ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบและขยายหลอดเลือดเพื่อลดอาการปวดบวม)
(2) บรรเทาความรู้สึกปวด
(3) ทำให้เกิดอาการชา (Numb) ลดการรับรู้ของผิวหนังและกล้ามเนื้อส่วนที่ทาอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ อาการปวดเมื่อยตึงและอาการปวดเฉพาะที่ อาการเหล่านี้สามารถบรรเทาอาการด้วยวิธีต่างๆตามบทความข้างต้น หากมีอาการบาดเจ็บรุนแรง ควรงดการออกกำลังกายทันที และควรพบแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาต่อไป
หากมีอาการเพียงเล็กน้อยปวดเมื่อยเบาๆ สามารถใช้ ยาทาแก้ปวดกล้ามเนื้อ เพื่อบรรเทาอาการ ยาทาแก้ปวดกล้าเนื้อที่ดี ไม่ควรมีสารเคมีที่ทำให้ผิวเกิดความระคายเคือง รวมถึงอาจจะทำให้เกิดคราบจากเนื้อครีมบนเสื้อผ้าได้
ยาทาแก้ปวดกล้ามเนื้อ Myo Kreme บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ช่วยผ่อนคลาย ทาได้ทั้ง คอ บ่า ไหล่ เอว ขา แขน และบริเวณที่มีอาการ เนื้อครีมบางเบา ซึมซาบเร็ว ไม่เหนียวเหนอะหนะ น้ำมันระกำ เกล็ดสะระแหน่ น้ำมันกานพลู และน้ำมันอบเชย ที่สำคัญพกพาสะดวก สามารถทาก่อนออกกำลังกาย โดยไม่ทิ้งคราบขาวให้กวนใจ เพิ่มความมั่นใจก่อนออกกำลังกายในทุกวันของคุณ
รับฟรีไมโอครีม 12 ซองเมื่อสั่งซื้อสินค้าเซตพิเศษผ่านโปรแกรม Affiliate ของเรา หรือรับโบนัสไม่จำกัดเพียงแนะนำสินค้าโดยสะสมยอดขายตามกำหนดสนใจแนะนำสินค้าของเราคลิกที่นี่
การใช้ ยาทาแก้ปวดกล้ามเนื้อ เป็นการรักษาภายนอกที่ได้ผลดีแต่จะต้องทาในบริเวณที่ไม่มีแผลเปิด ห้ามนำมือที่เปื้อนยาสัมผัสตา จมูก เพราะจะทำให้เกิดอาการแสบร้อนระคายเคือง และควรใช้ยาคลายกล้ามเนื้อร่วมกับการพักผ่อนกล้ามเนื้อในบริเวณที่อักเสบเพื่อให้อาการปวดหายเร็วขึ้น แต่หากใช้เวลานานเป็นสัปดาห์แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาและรักษาอาการต่อไป
ผู้เขียน:
ดนุสรณ์ ชาติเจริญสิทธิ์
ผู้เรียบเรียง:
ภญ. หทัยรัตน์ พงษ์แสร์